จากเหตุการณ์ไฟป่าที่เผาไหม้สิ่งมีชีวิตในพื้นที่ของป่าแอมะซอน
.
ป่าดิบชื้นแอมะซอนเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีขนาดใหญ่ถึง 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนหนึ่งของ 9 ประเทศในทวีปอเมริกาใต้
.
อะไรคือสาเหตุที่ป่าดิบชื้นขนาดใหญ่ที่ถูกเปรียบว่าเป็นปอดของโลกถูกไฟป่าเข้าทำลาย
.
INPE ระบุว่ามีไฟป่าในป่าแอมะซอนกว่า 72,000 จุด ในช่วง มกราคม ถึง สิงหาคม 2562 โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้คนที่จุดไฟเผาป่า ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ รวมถึงสภาพอากาศในฤดูแล้งที่เอื้อต่อการเกิดไฟป่า
.
ความผิดอยู่ที่ใคร ภาวะโลกร้อน สภาพอากาศ หรือ คน ?
.
.
ถอดบทเรียนจากพฤติการณ์ครั้งนี้ผ่านมุมมองของวิชาชีววิทยา จะได้คำถามคร่าว ๆ อยู่ 4 ประเด็น คือ
.
1. การเกิดไฟป่าส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ?
แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำในพื้นที่ป่าแอมะซอนอย่างมาก เนื่องด้วยพื้นที่ป่าแห่งนี้มีสัตว์ที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาย และสัตว์ปีกหลากหลายสายพันธ์ุ ทั้งที่ค้นพบแล้วและยังรอการค้นพบ เป็นต้น
.
ไม่เพียงแต่แหล่งที่อยู่ที่ถูกทำลาย แต่นั่นรวมถึงแหล่งอาหารของสัตว์นานาสายพันธุ์ที่อาศัยในป่าแห่งนี้ อุณหภูมิที่สูงยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำในกรณีที่น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจส่งผลให้ปลาหลายชนิดต้องตาย
.
หรือหากมองสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีให้แก่เจ้าไฟป่าก็คงหนีไม่พ้นพืชนานาพรรณที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ป่าดิบชื้น หวั่นใจว่าพืชบางชนิดอาจสูญพันธุ์หากไฟป่ายังคงทวีความรุนแรงต่อไป
.
2. ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ?
สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ในพื้นที่ป่าแอมะซอนจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด และยากต่อการฟื้นฟูสภาพป่าในเวลาอันสั้น ส่วนมนุษย์อย่างเรา ๆ ก็ได้แต่ยืนมองเท่านั้นหรือ? ผลกระทบของไฟป่าครั้งนี้ส่งผลต่อมนุษย์หรือไม่? คำตอบคืออมนุษย์ก็โดนหางเลขไปด้วย แม้จะเป็นทางอ้อม แต่ก็หนีความจริงอันเจ็บปวดไม่ได้ว่า เรากำลังจะสูญเสียศักยภาพในการทำงานของ "ปอดโลก" ในการหมุนเวียนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หากจินตนาการว่าป่าแอมะซอนหยุดทำงานไป 1 ปี แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นมากเท่าใด นับว่าเป็นการเร่งภาวะโลกร้อนให้เกิดขึ้นเร็วไปอีกขั้น
.
3. หากไฟป่าหยุดลงคาดว่าสภาพผืนป่าแห่งนี้จะเป็นอย่างไร ?
ในวิชาชีววิทยาจะกล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิของสิ่งมีชีวิต ซึ่งโลกเราผ่านการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในลักษณะนี้มานับไม่ถ้วน กล่าวคือพื้นที่ป่าถูกทำลายโดยไฟป่า หลังการรบกวนของไฟป่าจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมาแทนที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้น
.
แต่แอดมินหวั่นใจว่าพื้นที่แห่งนี้จะมีมนุษย์เข้าไปยึดครองและนำไปสู่การตั้งรกรากสังคมมนุษย์ในอนาคตหรือไม่?
.
4. เราจะป้องกัน หรือลดอัตราการเกิดไฟป่าได้อย่างไร ?
ความรู้คือภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าต่อการตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งมีชีวิต การสร้างสังคมที่เคารพธรรมชาติในปัจจุบันถูกบดบังด้วยผลประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตตราบเท่าที่มนุษย์หนึ่งคนจะมีลมหายใจ และตราบเท่าที่สังคมจะพึงพอใจ (ซึ่งมนุษย์มีขีดจำกัดความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน) การมอบความรู้และความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังจึงเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากกว่าการปลูกป่าโดยที่ไม่ได้สร้างการตระหนักรู้ให้แก่ผู้คนในพื้นที่เลย
.
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงมุมมองเพียงส่วนหนึ่งของแอดมินเท่านั้นนะครับ หากมีสิ่งใดที่เห็นต่าง หรืออยากจะเสริมเพิ่มเติมอะไรสามารถคอมเมนท์พุดคุยกันได้เลยนะครับ
.
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
ฝากกดไลค์ และกดติดตามเพจ Boss Lab Board Game กด See first นะครับ จะได้เห็นทุกข่าวสารที่เรามอบให้
Comments